แก้เลย แต่อย่าสะเพร่า ของ วิกิพีเดีย:ขอให้กล้า

เนื้อหาบางประเด็นในวิกิพีเดียผ่านกระบวนการที่ยืดเยื้อและยาวนาน

ผู้ใช้ใหม่นั้น มักตื่นเต้นไปกับการเปิดกว้างของวิกิพีเดียและกระโจนเข้าใส่มัน นี่เป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าลืมว่า ขอให้กล้า ยังรวมถึงการใส่ใจสิ่งดีร่วมกัน และไม่แก้ไขแบบรบกวนหรือสะเพร่า แน่อนว่าการเปลี่ยนแปลงที่สุดท้ายไม่ได้ทำให้วิกิพีเดียดีขึ้นกว่าเดิมอาจถูกย้อนได้ง่ายและไม่มีผลเสียระยะยาว สำคัญที่คุณไม่ควรรู้สึกว่าถูกดูหมิ่นถ้าเกิดเหตุการณ์เ่ช่นนี้ขึ้น ถ้าคุณไม่แน่ใจก็ถามได้เสมอ

สำหรับการเปลี่ยนแปลงบทความที่เป็นเรื่องซับซ้อน และเต็มไปด้วยการโต้เถียง มีประวัติไม่ลงรอยกันอย่างยาวนาน รวมทั้งบทความคัดสรรและบทความคุณภาพ คุณอาจต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้น เพราะหลายกรณีนั้น ข้อความในหน้าดังกล่าวเป็นผลมาจากการเจรจาอย่างยาวนานและดุเดือดระหว่างชาววิกิพีเดียที่มีภูมิหลังและทัศนะต่างกัน การทะเล่อทะล่าแก้ไขโดยไม่ระวังอาจการเป็นการเข้าไปตีรังผึ้ง และคนอื่นที่เคยมีประเด็นกับเรื่องนี้อาจมีปฏิกิริยาตอบโต้ได้ คุณควรเคารพใน ระบบที่เป็นอยู่ บ้าง เช่น หลีกเลี่ยงการแก้ไขบทความ ถ้าในขณะนั้นกำลังมีการลงความเห็นอยู่ โดยเฉพาะถ้ายังไม่มีความเห็นพ้องกันของฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน ในกรณีนี้ถ้าไม่ใช่การแก้ไขเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างไวยากรณ์หรือการสะกดคำ ขอให้อ่านทั้งบทความและดูความเห็นในหน้าคุยก่อน และการขอความเห็นพ้องก่อนการแก้ไขที่อาจก่อให้เกิดประเด็นใหม่ ๆ ก็เป็นความคิดที่ดี ขอให้ใช้วิจารณญาณอย่างบรรณาธิการอย่างดีที่สุดเสมอ ส่วนถ้าคุณเป็นชาววิกิพีเดียผู้ช่ำชอง คุณน่าจะพอทราบได้จากประสบการณ์ว่าการแก้ไขใดเป็นสิ่งที่ผู้อื่นยอมรับ และสิ่งใดควรสอบถามก่อน

แต่ถ้าคุณเป็นผู้ใช้มือใหม่และไม่แน่ใจว่าคนอื่น ๆ จะมองการแก้ไขของคุณว่าอย่างไร แต่คุณก็ต้องการจะแก้ไขหรือลบบางส่วนของบทความ เราแนะนำว่าคุณควรจะ

  1. คัดลอกข้อความดังกล่าวไปยังหน้าอภิปราย และเขียนความเห็นขัดแย้งของคุณไว้ (ในกรณีที่ส่วนดังกล่าวเป็นประโยค หรือมีความยาวระดับประโยค)
  2. เขียนความเห็นของคุณไว้ในหน้าอภิปราย แต่เก็บหน้าบทความไว้เช่นเดิม (ในกรณีที่ส่วนดังกล่าวมีความยาวค่อนข้างมาก)

หลังจากนั้นรอคำตอบสักระยะ ถ้าไม่มีใครมีความเห็นขัดแย้ง คุณก็สามารถดำเนินการไปได้ แต่อย่าลืมที่จะย้ายส่วนที่ลบที่มีขนาดใหญ่ ไปไว้ที่หน้าอภิปราย และเขียนความเห็นของคุณกำกับไว้ด้วย เพื่อที่ผู้ใช้คนอื่น ๆ จะได้เข้าใจการแก้ไขของคุณ และสามารถเข้าใจประวัติของบทความนั้นได้ และอย่าลืมที่จะใส่คำอธิบายอย่างย่อของการแก้ไขของคุณลงไปด้วย

ทั้งนี้ขอให้กล้าไม่อาจใช้เป็นข้ออ้างละเมิดนโยบายเนื้อหาบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ได้แม้เพียงชั่วคราว

แต่อย่าเพิ่งกลัวไป

อย่างไรก็ดี สำหรับบทความอื่น ๆ อีกมากมายนั้น คุณสามารถจะเข้าไปแก้ไขเช่นใดก็ได้ตามที่คุณเห็นว่าดี เฉพาะบางเรื่องที่อ่อนไหวเท่านั้นที่คุณจะต้องระมัดระวัง และโดยมากคุณก็น่าจะรู้ได้ในทันที ส่วนในกรณีที่คุณไม่ทราบ ถ้าคุณชอบที่จะโต้เถียง ส่วนใหญ่แล้ว ความกล้า ของคุณก็มักจะเป็นจุดยืนที่พออธิบายได้ ยิ่งไปกว่านั้น คุณก็ไม่น่าจะเป็นคนแรกที่เข้าไปแก้ไขบทความที่มีการโต้เถียงเหล่านั้น และแน่นอน คุณคงจะไม่ใช่คนสุดท้าย พูดง่าย ๆ ก็คือการปรับปรุงที่มีการเพิ่มเติมเนื้อหาและข้อมูลมีแนวโน้มที่จะได้รับการยอมรับ มากกว่าการปรับปรุงที่ลบ หรือตัดเนื้อหาบางส่วนทิ้ง

เราขอแค่อย่าทำพลาดในเรื่องเดิมซ้ำบ่อย ๆ

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา